วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

กิ่งไม้รวมกันเป็น "กิ่ง"

เบื้องหลังภาพผลงาน "ภาษาธรรมชาติ" ตอนแรกก็ฟุ้งไว้หลายอย่างว่าจะทำออกมาแบบไหนดีหรือพยายามหลุดจากสิ่งที่เคยทำ เอากิ่งไม้มาต่อเป็นหน้าเธอ ทำเป็นงานประติมากรรม อะไรอีกหลายอย่าง แต่สุดท้ายก็เลือกทำตามสัญชาตญาณที่เรามีดีกว่า...














พื้นที่ในการสร้างสรรค์งาน (หลังจากเดินสำรวจอยู่ซักพัก)

สถานที่ลานสนามหญ้าหน้าโบสถ์ รอบรั้วแก้ว "วันเทพศิรินทราวาส"















กิ่งไม้ที่เก็บและรวบรวมมาได้ (กิ่งไม้ทุกกิ่งเก็บตามทางเดินที่มันหลุดร่วงมาจากก้านของลำต้น ไม่ได้ไปเด็ดดึงหรือทำลายระบบนิเวศน์แต่อย่างใด)

ถึงจะเลือกทำในสิ่งที่คุ้นเคย แต่ก็ยังหวั่นๆว่าจะทำได้รึเปล่า เพราะสิ่งที่ปะทะอยู่นี้มันเกินขอบเขตที่เคยทำมา และตอนนั้นยังไม่ได้ทำงาน "ภาษาเทคโนโลยี" ออกมาด้วย

ตั้งสติ สูดหายใจฝอดใหญ่... เฮ้ย สู้เว้ย!!!















วางๆดูก่อน















เริ่มพิถีพิถัน





























เฮ้ยๆ แม่งได้วะ ไปต่อได้ๆ (แบบว่าตื้นเต้นเล็กน้อย)















ใส่เส้น grid หลวมๆเข้าไปหน่อย (พอถึงตอนนี้ก็ไหลเลย)















ประคบประหงมน่าดู















ขอบคุณพี่คนนั้น (น่าจะเป็นเด็กวัด) ที่ช่วยถ่ายภาพให้















ทำด้วยมือ ส่งผ่านมาจากใจ















ตอนแรกไม้เอก จะทำด้วยใบไม้แต่คิดว่ามันคงกลืนกับพื้นหญ้า และพอดีไปทำที่วัดเทพแล้วเห็นดอกรำเพยเรียงรายอยู่ ไม่ต้องคิดไรมากเลย ลูกแม่รำเพย อย่างเรา (มีแต่ดอกรำเพยนี่แหละที่เด็ดมา เพราะต้องการความสดและชีวิตชีวาขณะนั้นจริงๆ)

































พอทำเสร็จแทบจะหาวิธีหรือทำไงก็ได้ ที่จะเอาผลงานครั้งนี้กลับบ้าน (ถ้ามีจอบหรือเสียมวางอยู่ขุดจริงๆนะ)


















สุดท้ายก็ได้แต่ยืนดูและชื่นชมผลงานตัวเอง
ก็อย่างที่บอกเราหยิบยืมธรรมชาติมา ก็ต้องปล่อยให้ธรรมชาติของเวลาดูแลมัน















บุหรี่ซักตัวภายใต้ร่มไม้จากแสงแดด...

ณ วันที่ 13 กันยายน 2551
ช่วงเวลายามบ่าย

ขอบคุณพี๋เจ๋งที่ให้ยืมกล้องมาบันทึกผลงาน

วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

นี่คือ "ความรัก" (This Is Love)

ผมได้พบและทำความรู้จักเธอในระหว่างที่เธออยู่ในหน้าที่การงาน เธอผู้นี้แทบจะเหมือนภาพแรกของผู้หญิงที่มีอยู่ในมโนภาพของผมเรื่อยมา...

"ผู้หญิงผมยาว หน้าไทย ผิวน้ำผึ้ง หน้าเรียวเข้ารูป รูปร่างได้สัดส่วน"
(กับความงามเชิงนามธรรม)

และเมื่อเวลาผ่านไป... ความสัมพันธ์ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในระดับนึง


















"ธรรมชาติคือการก่อเกิด" (หยิบยืมธรรมชาติมาทำงานศิลปะ)



















"เทคโนโลยีคือการนำพา" (ใช้โปรแกรมในคอมฯมาทำงานออกแบบ)
Font โครงสร้างและจริตบางส่วน "Tp Tankhun" (ทีพี แทนคุณ)

"เราพึ่งพาเทคโนโลยี แต่เราควรฟังเสียงธรรมชาติควบคู่กันไป"















ภาพก่อนที่ผลงานจะถูกรวบรวมในรูปแบบของผลงาน [format]
(ตอนนี้กำลังคิดหนักเลยเพราะกรอบรูปที่ร้านมี ไม่ใกล้เคียงกับภาพที่มีอยู่ในหัว)

และผมได้นำสิ่งของดังกล่าวไปให้เธอเนื่องในวันเกิด...

หลังจากที่รูปแบบผลงานได้ถูกห่อหุ้มด้วยสิ่งที่เรียกว่า "กระดาษห่อของขวัญ"

































"บ่อ สื่อ ฮะ เสีย" (คิดอะไร ทำอะไร ก็ดีไปหมด)

ร่างต้นฉบับกำกับคำ โดย "อาม่าฮัวม่า"
แปลคำไทย โดย "แม่"
ลงอักขระ โดย "อาแปะเขียนแผ่นตุ้ยเลี้ยง"(หน้าปากซอยฝั่งตรงข้ามบ้าน)
ปิดผนึก โดย "ผมเอง"

ขอบคุณพี่ๆน้องๆเพื่อนๆและแฟนเพื่อนทุกคนกับส่วนร่วม
ในเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ครั้งนี้!!!

และเหนือสิ่งอื่นใดนั้น...

"ขอบคุณมากนะ กิ่ง"

"เราขอบคุณมากจริงๆ"

"ขอให้มีชีวิตที่งดงาม และสวยสพรั่งแบบนี้เรื่อยไปและตลอดไป"
-

วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

สี สัญญะ

-















ผมดื่มบียร์สิงห์
สูบบุหรี่แอลเอ็มแดง
นิยมซื้อซองอ่อน
รสสัมผัสเป็นสีส้ม

ในวันที่ผมนึกครึ้ม
หยิบเสื้อน้ำเงินมาสวมใส่
และแลเห็นผู้คนมากมาย
บนสีหน้าทางอารมณ์ที่...

ทุกข์โศกหรือสุขสันต์
เห็นแดงผสมน้ำเงิน
เห็นน้ำเงินผสมเหลือง
ปะปนคละเคล้ากันไป
-

วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

นัยยะของกมลธรรม

-
กระพริบ แต่ไม่กระซิบ "ตึกตัก ตึกตัก"

komontham-parw#
"กมลธรรม"

"กมลธรรม เด็กศิลปกรรมศาสตร์"
"Creative Society" (สังคมการสร้างสรรค์)

komontham-parw#
"กมลธรรม ศิลป์เก่า ม.กรุงเทฑ" (ม่วง-แสด)
"ความรู้ คู่ความดี"

"กมลธรรม เด็กเทพฯ"
(เขียว-เหลียง)
"นสิยา โลกวฒฺโน" (ไม่ควรเป็นคนรกโลก)

"สุภาพบุรุษลูกแม่รำเพย"
-

วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ตราสัญลักษณ์ "กมลธรรม"

"กมลธรรม"

"กมล" + "ธรรม"

กมล
[กะมน] (แบบ) น. บัว เช่น บาทกมล. (สมุทรโฆษ); ใจ เช่น ดวงกมล.
ว. เหมือนบัว เช่น เต้าสุวรรณกมลคนที. (ม. คําหลวง หิมพานต์),
บางทีใช้ว่า กระมล. (ป., ส.).
(พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒)

ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ
[ทํา, ทํามะ] น. คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม;
คําสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า;
หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา เช่น ปฏิบัติธรรม ประพฤติธรรม; ความ
ความจริง เช่น ได้ดวงตาเห็นธรรม; ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, เช่น
เป็นธรรมในสังคม; กฎ, กฎเกณฑ์, เช่น ธรรมะแห่งหมู่คณะ; กฎหมาย
เช่น ธรรมะระหว่างประเทศ; สิ่งทั้งหลาย, สิ่งของ, เช่น เครื่องไทยธรรม.
(ส. ธรฺม; ป. ธมฺม).

เมื่อดูจากความหมายข้างต้นของ "กมล" เป็นความหมายที่สามารถสื่อสารออกมาเป็นภาพได้ แต่เมื่อมองถึงสิ่งที่จะนำมาใช้ร่วมกับ "ธรรม" คำว่า บัว น่าจะตกไป (ใจดูมีความหมายลึกซึ้งมากกว่า)

ใจ
น. สิ่งที่ทําหน้าที่รู้ รู้สึก นึก และคิด เช่น ใจก็คิดว่าอย่างนั้น, หัวใจ เช่น
ใจเต้น, ลมหายใจ เช่น กลั้นใจ อึดใจ หายใจ, ความรู้สึกนึกคิด เช่น ใจคด
ใจซื่อ; จุดสำคัญของบางสิ่งบางอย่าง เช่น ใจมือ, บริเวณที่ถือว่าเป็นจุด
สำคัญของสถานที่ เช่นใจบ้านใจเมือง.
(พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒)















Symbol ของ หัวใจที่เป็นสากล















Symbol ของ "กมล" (ตามรสนิยมของผม)

ในส่วนของ "ธรรม" หมายถึง คุณความดี, ความชอบ; คำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา; การปฏิบัติตามคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา

ยังมองไม่เห็น สื่อสารเป็นภาพยังไม่ได้ วิเคราะห์จากความหมายที่ได้ "คำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา; การปฏิบัติตามคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา"

คำถาม "พระพุทธศาสนาก่อเกิดขึ้นได้อย่างไร"
คำตอบ "การตรัสรู้
ของพระพุทธเจ้า"

เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะมีพระชนม์ได้ 29 พรรษาก็ได้มีเหตุดลใจให้เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบวช เพราะขณะเสด็จประพาสพระราชอุทยานทรงเห็น คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และบรรพชิต ดังนั้นพระองค์ทรงคิดหาทางดับทุกข์ดังกล่าว โดยทรงตัดสินพระทัย ออกบวช ในระหว่างบำเพ็ญพรต เพื่อหาสัจธรรมนั้น ได้ทรงเลือกนั่งประทับที่โคน ต้นโพธิ์จนกระทั่งพระองค์ได้ตรัสรู้ พระสัมมาสัมโพธิญาน คือ อริยสัตย์ 4 อันประกอบด้วย ทุกข์ สมุห์ทัย นิโรธ มรรค
ข้อมูลจากhttp://www.dnp.go.th/nursery/pud/po.htm,http://www.geocities.com/sittisak969/history.html

โพธิ, โพธิ์
[โพทิ, โพ] น. ความตรัสรู้; ชื่อต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า,
บัดนี้หมายถึงต้นไม้จําพวกโพ. (ป., ส.).
(พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒)

โพธิ์
คำแปล2
[โพ] (มค. โพธิ) น. ความตรัสรู้; ต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าได้ประทับ ณ ภายใต้ แล้วได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า (เหมือน โพธิ).
(พจนานุกรม ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร)




















ภาพของใบโพธิ์ visual ที่ครอบคลุมต้นโพธิ์(ถึงจะเป็นแค่ใบไม้)















Symbol ของ การก่อเกิด "ธรรม" (ตามรสนิยมของผม)











"กมล" "ธรรม" ยังไม่เป็น "กมลธรรม"

นั่งคิดอยู่ครู่นึง เพื่อนร่วมงานก็ทัก "คิว ต้องอีกนิดนึงวะ ต้องเอามารวมกันหน่อย" ยังไม่มีความเป็นเอกภาพว่างั้น (อืมๆ Thank You Manoman!!!)

















"กมลธรรม" มีความหมายว่า "ผู้ที่มีคุณความดีอยู่ในหัวใจ"












"คิวยิ้ม" "กมลธรรมอิ่มเอม"

ตอนนี้มี Logo ของตนเอง 2 แบบแล้ว คงต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมเสียแล้ว
ฮา ฮา ฮ่า

หมายเหตุ : บทความนี้ได้ถูกแก้ไขตัดทอนเนื้อหาบางส่วนมื่อวันที่ 10 พ.ย. 08

วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2551

พบรัก















ต้นไม้ ลำธาร สายลม แสงแดด ท้องฟ้า
หญิงสาว เด็กหนุ่ม ผู้เยาว์ วัยชรา มวลมนุษย์

เห็นเหมือนเมื่อวาน ดำเนินเหมือนเมื่อคืน
กระทำตามวิถีทาง ที่มุ่งหวัง และมุ่งหมาย

เฉกเช่น ฉะไหน ณ เวลานี้กลับเห็นต่าง
สัมผัสตามปกติ แต่มองไม่เหมือนปรกติ

ชีวิต ชีวา ชีวี ชีวิน

ฉันเริ่มเข้าใจสรรพสิ่ง
เพียงเพราะฉัน
ได้พบกับคำว่า...

"รัก"
Q

วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ผูกพัน





-









เว้นวรรค แต่ไม่เว้นว่าง
ห่างเหิน แต่ไม่ห่างหาย
เคียงกัน แต่ไม่ใกล้เคียง

ร่ำลา แต่ไม่ลาจาก.....

วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2551

Experimental Photography & Digital Sound Design

ภาพบรรยายกาศนิทรรศการ "Experimental Photography & Digital Sound Design" ระหว่างวันที่ 7-13 ตุลาคม 2548 ณ Photography Bar

ขอบอกไว้ก่อนว่าภาพทุกภาพได้มาจากเพื่อน เพราะติดงานเสร็จก็รีบบึ๋งกลับบ้านไปเปลี่ยนเสื้อผ้า(ที่แสดงงานอยู่ใกล้บ้าน) รีบจนลืมหยิบกล้องมาเลย และก็เห็นเพื่อนแม่งมีกล้องกันหมดเลย เออ!!! เดี๋ยวไปขอภาพจากพวกมันแล้วกัน (ภาพจาก Robo ตอง)















กำลังง่วนเลย เพื่อนมากันแล้ว แต่ยังติดงานไม่เสร็จเลย



















เริ่มสร้างบรรยกาศกันแล้ว















จะเปิดงานแล้วยังไม่มี visual ให้ปะทะกับคนภายนอกเลย ด้นสดกันซะเลย ฟน ฝ่น ฝ้น ฝ๊น ฝ๋น (บริบทของการขีดเขียน)















เปิดนิทรรศการ















เบิกร่องด้วยงาน "Digital Sound Design" ชั้นเรียนของอาจารย์ตุล

ชมนิทรรศการ แบบอะไรดีว๋า อ๋อ!!! Casual แบบ เบิร์ด เบิร์ด










































คนขวาคือเพื่อนฮัด คนซ้ายใครก็ไม่รู้ ไม่เกี่ยวกับเขาเลย ทำเป็นซึมซับงานศิลปะ มาทำไมวะมึง ฮา ฮา ฮ่า















งานของฮัด "ก่อคือสร้าง สร้างคือก่อ"















สิ่งที่คู่กันย่อมคู่กัน ระหว่างของเหลวกับแก้วน้ำ แต่แก้วน้ำสองใบนี้เป็นแค่เพียงสิ่งที่เคียงกัน
(ไม่มีไร เห็นภาพแล้วอยากดัดจริตสื่อสารอะไรมึนๆ)















ไอ้กานต์ มือกีตาร์ แห่งคณะ Band New SunSet ขอบคุณที่ชอบงานกู ดูงานซักแป๊ป แทบจะขอซื้องานผมเลย(ขนาดนั้นเลย)

และขณะนี้ได้มีอัลบั้มใหม่วางแผงแล้ว มีคำร้องภาษาไทยด้วย ขอบอก CD package
สวยมากทั้งเรื่องของ form และ concept เยี่ยมๆ(ช่วยขายของกันหน่อย ฮา ฮา ฮ่า)
http://www.myspace.com/brandnewsunset















เริ่มก่อหวอดกันแล้ว


































คนเสื้อส้มอาจารย์ตุลย์ แห่งคณะอพาร์ทเมนท์คุณป้า(ไม่ได้รู้จักเป็นการส่วนตัว)



















"อาจารย์กิด"



















อ้าว!!! ได้เวลาไซคีเดลิกกันแล้ว



















เหวี่ยงสาด!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!



















พิ๊มไปป์ (พูดได้แค่นี้เพราะจะให้นิยามผู้ชายคนนี้คงไม่จบด้วยแค่การสื่อสารผ่านตัวอักษร ฮา ฮา ฮ่า)















รวมหมู่แต่ยังตกหล่น กูหายไปไหนวะเนี่ย เซ็งสาดดดดดดดดดดดดด

เป็นอีกค่ำคืนที่ผมมีความสุข ได้แสดงผลงานในที่ที่่ศิลปินดังๆเคยแสดงงาน การกินเหล้า เฮฮา กับเพื่อนหมู่มาก และบทสนทนาที่มิอาจลืมเลือน

ขอบคุณมากครับอาจารย์กิด
ผม ผม ผม.........................
ขอบคุณอาจารย์มากจริงๆครับ