วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2551

แด่ Paul Newman (พอล นิวแมน)

ไว้อาลัยให้แก่นักแสดงผู้ยิ่งใหญ่ การลาจากที่ไม่หวนคืนด้วยโรคมะเร็งปอด ในวัย 83 ปี วันที่ 28 กันยายน 2008 ไม่ได้ชอบหรือพิสมัยนักแสดงท่านนี้เป็นพิเศษ เพียงแต่รู้สึกว่าถ้าไม่มีนักแสดงท่านนี้แล้วคงไม่มีดารานักแสดงรุ่นหลังที่มีคุณภาพอย่าง(มารอน แบรนโด ก็เป็นหนึ่งในนั้น) โรเบริ์ต เดอ นีโร (Robert de Niro: คนโปรด) อัล ปาชิโน ดัสติน ฮอฟแมน(ดั่งที่ เบนโนชิโอ เดล ทอโร ชื่นชม ดัสติน ฮอฟแมน ) หรือใครอีกหลายคน















































สู่สุขคตินะครับ คุณปู่พอล

ขอบคุณภาพจาก
Credit:
http://alovelessday.blogspot.com/2007/10/paul-newman.html
http://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=7416.msg59468

วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2551

Falcon: The Magenta [FAB 15: Communication Design]

นิทรรศการโครงการออกแบบนิเทศศิลป์ครั้งที่ 15 คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ Falcon: The Magenta [ฟอลคอน เดอะ มาเจนตา]ระหว่างวันพุธที่ 28 มีนาคม ถึงวันที่ 3 เมษายน 2550 เวลา 10.00-22.00น. ณ Central World ชั้น 1 บริเวณ Forum Zone


















เหล่าเหยี่ยวสีชมพูที่พร้อมออกไปล่องเวหา หาเหยื่อชิ้นดี(ข้อมูล แกนความคิด) ด้วยสายตาอันแหลมคม มาสร้างสรรค์งานออกแบบ

ภาพนิทรรศการและผลงานออกแบบของนักศึกษาการออกแบบ


































ป๋าปั้น เจ๊ดัน เจิ้นทำ(ฮา ฮา ฮ่า)























ไม่ลายไม่รอด(ตามนำ้กันเถอะเรา)























สถานการณ์สร้างวีรบุรุษ























ตัวเลขเป็นตัวกำหนดเวลา หรือเวลาเป็นตัวกำหนดตัวเลข


















พิมพ์ได้ดีเพราะเราสุก(ข)พอดี


















อยู่กันตามอัตภาพ มิใช่อัตตา


















พลัดถิ่นจากบ้าน เพื่อสิ่งที่ดีกว่า























เสื้อตัวที่แพงที่สุดของผม (บรืนๆ บรืนๆ)


















"โอ้มันเยี่ยมจริงๆ จอร์จ "


















"โอ้มันยอดมากเลยซาร่า"























แบบไหนถึงเรียกว่าพอดี


















อักษรสื่อสาร มิติความต่าง ช่องว่างของการรับรู้


















พฤติกรรม ผลกระทบ สิ่งแวดล้อม























ของกินบ้านเฮา เลืิอกเอาเถอะนาย เป็นของพื้นเมือง เป็นเรื่องสบาย























ล่องใต้ แลหนังลุง ซึมซับความจริงใจ ที่ตรงไปตรงมา























ภาพลักษณ์ของเด็กหนุ่มในชีวิตช่วงหนึ่งที่ไม่อาจหวนคืน(ฮา ฮา ฮ่า)

































































วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2551

กิตติกรรมประกาศ (ศิลปนิพนธ์)

ขอบคุณ อ.นิจจัง กับคำปรึกษาที่ช่วยขัดเกลาจนทำให้เกิดโครงการนี้

ขอบคุณอ.ติ๊ก ที่มองเห็นสาระของมัน การให้น้ำหนักในการตัดสินใจของผมในการเลือกทำโครงการนี้ แล้วมันก็ไปได้สวยอย่างที่อาจารย์พูดจริงๆ(ขั้นตอนการทำงาน) และการให้คำปรึกษาในเรื่องของทิศทางกระบวนการการทำงาน

ขอบคุณ อ.นลินี สำหรับคำสอน คำแนะนำ การเอื้อเฟื้อช่วยเหลือเรื่องสถานที่ วัสดุอุปกรณ์การทำงาน จนทำให้โครงการนี้เสร็จสมบูรณ์ และความเข้าใจในความป็นนักศึกษา

ขอบคุณพี่เมย์ พี่ป๊อป ที่เอ็นดูช่วยเหลือเรื่องราคาค่าปริ้นท์งานที่สุดแสนจะถูก(จะเรียกว่าฟรีก็ว่าได้) ขอบคุณพี่เก๋ กับความละเมียดละไมความพิถีพิถันในการปริ้นท์งาน และพี่ๆ pixel one ทุกคน

ขอบคุณพี่ราช กับน้ำใจในการทำกล่องขนมอย่างสุดฝีมือ(ผมเป็นลูกมือ)

ขอบคุณอี๊นิ ที่ช่วยขยายข้อสงสัยในสาระของประเพณีวัฒนธรรมจีน

ขอบคุณ เฮง สำหรับตัวหนังสือภาษาจีน

ขอบคุณ ฮัด กับน้ำใจที่มีให้

และขอขอบคุณ คุณจิตรา ก่อนันทเกียรติ หนังสือของคุณเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญในการขับเคลื่อนการทำงานของผมเป็นอย่างมาก และบุคคลทั่วไปหรือคนรุ่นหลังที่อยากเข้าใจในประเพณีวัฒนธรรมต่างๆของคนจีน

นายกมลธรรม เรืองวุฒิสกุลชัย

(ว่าจะไม่เขียนหรือเอามาลงแล้ว แต่ก็อดใจไม่ได้กับความนัยที่อยากจะถ่ายทอดสิ่งดีๆที่ได้รับออกมา)

วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551

My Illustration

ภาพประกอบตัวเอง สมัยเรียนวิชา illustration ตอนแรกจะทำแบบสื่อถึงภายใน
แต่คิดไปคิดมาง่ายๆดีกว่า























ลูกจีน(อีกแล้ว) กางเกงขาม้า(แต่พักหลังนี้หากางเกงยีนส์ที่เหมาะๆกับตัวเองยากมาก!!!) กับรองเท้าสวนทาง

ทรงพระเจริญ

ผลงานที่ผมส่งเข้าร่วมแสดงในโครงการอักขรศิลป์ "ทรงพระเจริญ" โดยออกแบบอักขรศิลป์ ทรงพระเจริญ รูปแบบใหม่ขึ้น เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา และมีการจัดแสดงในวันที่ 14-17 ธันวาคม 2550 บริเวณ โถงชั้น 1 สยามดิสคอพเวอรี่เซ็นเตอร์ และผ่านเว็บไซต์ http://www.songpracharoen.org/

















คนไทยเชื้อสายจีน ที่บรรพบุรุษได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร

ด้วยเกล้าด้วยกะหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า
นายกมลธรรม เรืองวุฒิสกุลชัย
บุตรของนายโอวตี๋ และนางฮุ่ยฮวง

ภาพบรรยากาศการแสดงผลงานและนิทรรศการ













































วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2551

ศิลปนิพนธ์ ตึ๋ง หนั่ง เปี้ย อัฟ (กล่องขนมชาวจีน)

Degree Project ของผม ชื่ออย่างเป็นทางการ
"โครงการออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ขนมชาวจีน ตามงานเทศกาลต่างๆ"

บทคัดย้อย่อ
เห็นอยู่มานาน แต่เหมือนอยู่อย่างนั้น อะไรใหม่ๆเข้ามาแต่ก็ยังอยู่เหมือนเดิม เห็นก็กินไม่เห็นก็ไม่เรียกหา ครั้นถึงเทศกาลเสนุกสนานไปกับความพิเศษของธรรมเนียมต่างๆ แต่ไม่เคยรู้ว่าเขาทำไรกัน อยากให้สองสิ่งคล้องจองกัน ผลักดันซึ่งกันละกัน เห็นกล่องแล้วอยากกินหนม กินหนมแล้วหยิบกล่องมาดูได้ความรู้พอประมาณ ที่มาของงานสุดท้ายในชีวิตการศึกษาภาคทฤษฎีขั้นต้นของผม

อาจารย์ที่ปรึกษา อ.นลินี ทองแท้

สามารถดูบทคัดย่อจริงๆ ได้ที่
http://fab.bu.ac.th/communication/projects/thesis49/students/kamolthum.htm
(อ่านแต่บทคัดย่อนะครับ มาดูรูปที่นี่ เพราะตอนนั้นอยู่ในช่วง "เอาแล่ว" ยังไม่ได้เช่าสตูดิโอถ่าย โม้ไปนั้น)
และสามารถดูผลงานดีๆน่าสนใจของนักออกแบบท่านอื่นในสถานะนักศึกษาการออกแบบได้ที่
http://fab.bu.ac.th/communication/index.php?option=com_content&task=blogcategory&id=127&Itemid=70



















Logo Design : ร้านขนมหยักเค็ง (ชื่ออาม่าฮัวม่า) ดึงเอาเอกลักษณ์เส้นสายและการทอดตัวของตัวพิมพ์จีนสมัยใหม่ ที่จะพบเห็นได้ตามหน้าหนังสือพิมพ์จีน ดึงมาประยุกต์ใช้ร่วมกับตัวอักษรไทย

กล่องปกติ
















มาจากภาพเขียนโบราณที่ให้ความรู้สึกเวิ้งว้างว่างเปล่า แต่แลดูมั่นคงในขณะเดียวกันแสดงความเป็นหยินหยาง ปรับเปลี่ยนลายเส้นให้ดูร่วมสมัยและนำปรัชญาของเต๋ามาประดับไว้กับภาพให้ผลักดันซึ่งกันละกัน การจัดวางตัวอักษรหยิบยืมการวางตัวอักษรของจีนมาใช้ แต่วิธีอ่านยังเป็นแบบไทย (โดยการวางตัวอักษรลักษณะนี้เป็นส่วนหนึ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของความเป็นร้านขนมหยักเค็ง)
















"เมื่อเคลื่อนไหว ทำให้หายหนาว
เมื่อหยุดนิ่ง ทำให้หายร้อน
ผู้มีความนิ่งมีความสงบ
จึงเป็นแบบอย่างอันเลอเลิศ"

เราเชื่อเต๋า เราฟังเต๋า แต่เราขอเดินตามวิถีทางของเรา

เทศกาลตรุษจีน
วันที่ 1 เดือน 1 ไหว้ครั้งที่ 1 ง่วงตั้งโจ่ย ฤดูชุ

แบบที่1















"ตัวฮก" เป็นคำมงคลของจีน แปลว่า บุญหรือโชค โชคที่จะได้สมใจ เมื่อนำไปติดที่บ้านก็จะมีแต่ความสิริมงคล บ้างบ้านนิยมติดตัวฮกกลับหัวเพื่อเป็นเคล็บว่าโชคจะหวนกลับมา



































ภายในยังมีซองอั่งเปา บอกถึงสาเหตุทำไมวันตรุษจีนแต่ละปีไม่ตรงกัน (ตอนแสดงงานซองอั่งปาโดยจิ๊กไปหมดเลย) เป็นเพราะปฏิทินจีนเป็นการดูวันทางจันทรคติ คือการกำหนดวันและเดือนโดยดูพระจันทร์เป็นหลัก ส่วนปฏิทินสากลดูวันแบบสุริยคติ เมื่อนำมาปรับใช้เป็นวันในปฏิทินสากล ทำให้วันตรุษจีนหรือวันสำคัญอื่นๆ ไม่มีวันตรงกันในแต่ละปี

แบบที่2















มาจากธรรมเนียมการนำผลส้ม 4 ผล ไปไหว้และอวยพรญาติผู้ใหญ่หรือญาติมิตร โดยเจ้าบ้านจะรับผลส้มไว้ 2 ผล แล้วนำผลส้มีที่บ้าน 2 ผล เปลี่ยนกับผลส้ม 2 ผล ของแขกแล้วคืนผลส้ม 4 ผล ให้กับแขก การแลกผลส้มจึงมีความนัยว่าต่างฝ่ายต่างนำความโชคดีมอบให้แก่กัน
ส้ม สำหรับคนจีนถือเป็นผลไม้สิริมงคล
ส้ม คำจีนเรียกว่า "กา" อีกคำหนึ่งเรียกว่า "ไต้กิก"
ไต้ แลปว่า ใหญ่ กิก แปลว่า มิ่งขวัญ มงคล ดีงาม
"ไต้กิก" จึงแปลว่า มหาโชคดีหรือมหามงคล
ส่วนตรงบริเวณที่ใส่ผลส้ม หน้ากล่องทำการเจาะกระดาษเป็นอักษรมงคล ได้แก่ ฮก ลก ซิ่ว และซังฮี่ เพื่อเพิ่มความเป็นสิริมงคลต่อผู้ซื้อและผู้รับ

















เทศกาลเช็งเม้ง
15 วันแรกของเดือน 3 ไหว้ครั้งที่ 3 เช็งเม้งโจ่ย ฤดูชุง


















มาจากธรรมเนียมการไหว้ ขนมเปี๊ยะนก(เจียวเปี้ย) ซึ่งเป็นของไหว้พิเศษในเทศกาลเช็งเม้ง เพื่อเป็นการสื่อสารให้บรรพบุรุษรับรู้ว่าลูกหลานได้มากราบไหว้ ณ ที่ฮวงซุ้ยแล้ว จึงทำเป็นวิญญาณนกกำลังบินทยานขึ้นไปบนท้องฟ้า บอกกล่าวบรรพบุรุษให้รับรู้ถึงความกตัญญูของลูกหลาน ที่ได้นำสิ่งของอาหารมาเซ่นไหว้ (งานนี้หลายคนบอกค่อนข้างหลุด แต่ผมก็ได้ทำไปตาม mood&tone ที่กำหนดและresearchมา เพราะแดดในวันเช็งเม้งนั้นมันชั่งร้อนแรงเหลือเกิน สีเลยต้องสดๆ ฮา ฮา ฮา)























บินไปหาอากง อาม่าเลยนะเจ้านกเอ๋ย

เทศกาลสารทจีน
วันที่ 15 เดือน 7 ไหว้ครั้งที่ 5 ตงง้วงโจ่ย ฤดูชิว
















มาจากในช่วงเดือน 7 ของจีน คนจีนถือว่าเป็นเดือนผี เพราะตั้งแต่วันแรกของเดือนเป็นวันเปิดยมโลกให้ผีหรือดวงวิญญาณทั้งหลายได้ออกมารับส่วนบุญในโลกมนุษย์ ทำให้เทศกาลสารทจีนนอกจากการไหว้เจ้าและการไหว้บรรพบุรุษแล้ว ยังมีธรรมเนียมการไหว้ผีไม่มีญาติ(ไป๊ฮ้อเฮียตี๋) โดยจะไหว้บริเวณนอกบ้านก่อนที่จะทำการไหว้ จะมีการนำธูปไปปักตามถนนหนทางจากที่ไกลเข้ามาหาที่บ้าน เป็นการเรียกดวงวิญญาณให้ตามควันธูป มากินของเซ่นไหว้ที่บ้าน

















เทศกาลไหว้พระจันท
ร์
วันที่ 15 เดือน 8 ไหว้ครั้งที่ 6 ตงชิวโจ่ย ฤดูชิว
















มาจากความเชื่อของคนจีนในสมัยโบราณ ว่ามีกระต่ายปรุงยาอายุวัฒนะอยู่บนพระจันทร์อยู่คู่กับนกสามขา นกวิเศษของพระอาทิตย์เพื่อรักษาและสร้างสมดุลของหยินหยาง จึงออกแบบด้วยการเจาะกระดาษเป็นตัวกระต่ายที่กำลังตำยา เพื่อสามารถมองเห็นความสวยงามของขนมไหว้พระจันทร์





























ภายในยังมีสารลับของตำนานในวันไหว้พระจันทร์ จากการกู้ชาติจากมองโกลของชาวจีน โดยการใส่ข้อความไว้ในขนมไหว้พระจันทร์ นัดหมายฆ่าล้างมองโกลในวันตงชิว (วันกึ่งกลางฤดูชิว)























นี่คือ design แรกที่ทำไว้ แต่ตอนที่เสนออาจารย์กับคณะกรรมการ กลับมีเสียงหัวเราะดังทั่วห้อง บางท่านก็อมยิ้ม และคำแนะนำจากอาจารย์ท่านหนึ่ง "คุณขายขนมนะ นี่มันแรงไป" บวกกับใบหน้าที่เปื้อนยิ้มแล้วเสียงหัวเราะเบาๆ ฮึ ฮึ ฮึ !!!

เทศกาลกินเจ
เริ่มกินตั้งแต่วันที่ 1 เดือน 9 เก้าโหว่ยเจ ฤดูชิว
















มาจากในช่วงเทศกาลกินเจ คนที่กินเจอยู่ในศีลจะนุ่งขาวห่มขาวตลอดระยะเวลาการกินเจ สีเหลืองกับสีแดงถือเป็นสัญลักษณ์ของของการกินเจ ภายในมีปฏิทินช่วงเวลาการกินเจ เพื่อเล่นกับการนับวัน เวลาหยิบขนมมาทาน ส่วนพื้นที่ด้านล่างของปฏิทินนำเสนอข้อมูล ที่มาความสำคัญและสาระต่างๆของการกินเจ





























































กล่องใหญ่ พื้นที่เหลือเลยใส่รูปเดินเจที่ถ่ายไว้ตอนทำ research ซะเลย







































ภาพบรรยากาศการแสดงผลงาน (ภายใต้ชื่อนิทรรศการ : Falcon the Magenta)