วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2551

ศิลปนิพนธ์ ตึ๋ง หนั่ง เปี้ย อัฟ (กล่องขนมชาวจีน)

Degree Project ของผม ชื่ออย่างเป็นทางการ
"โครงการออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ขนมชาวจีน ตามงานเทศกาลต่างๆ"

บทคัดย้อย่อ
เห็นอยู่มานาน แต่เหมือนอยู่อย่างนั้น อะไรใหม่ๆเข้ามาแต่ก็ยังอยู่เหมือนเดิม เห็นก็กินไม่เห็นก็ไม่เรียกหา ครั้นถึงเทศกาลเสนุกสนานไปกับความพิเศษของธรรมเนียมต่างๆ แต่ไม่เคยรู้ว่าเขาทำไรกัน อยากให้สองสิ่งคล้องจองกัน ผลักดันซึ่งกันละกัน เห็นกล่องแล้วอยากกินหนม กินหนมแล้วหยิบกล่องมาดูได้ความรู้พอประมาณ ที่มาของงานสุดท้ายในชีวิตการศึกษาภาคทฤษฎีขั้นต้นของผม

อาจารย์ที่ปรึกษา อ.นลินี ทองแท้

สามารถดูบทคัดย่อจริงๆ ได้ที่
http://fab.bu.ac.th/communication/projects/thesis49/students/kamolthum.htm
(อ่านแต่บทคัดย่อนะครับ มาดูรูปที่นี่ เพราะตอนนั้นอยู่ในช่วง "เอาแล่ว" ยังไม่ได้เช่าสตูดิโอถ่าย โม้ไปนั้น)
และสามารถดูผลงานดีๆน่าสนใจของนักออกแบบท่านอื่นในสถานะนักศึกษาการออกแบบได้ที่
http://fab.bu.ac.th/communication/index.php?option=com_content&task=blogcategory&id=127&Itemid=70



















Logo Design : ร้านขนมหยักเค็ง (ชื่ออาม่าฮัวม่า) ดึงเอาเอกลักษณ์เส้นสายและการทอดตัวของตัวพิมพ์จีนสมัยใหม่ ที่จะพบเห็นได้ตามหน้าหนังสือพิมพ์จีน ดึงมาประยุกต์ใช้ร่วมกับตัวอักษรไทย

กล่องปกติ
















มาจากภาพเขียนโบราณที่ให้ความรู้สึกเวิ้งว้างว่างเปล่า แต่แลดูมั่นคงในขณะเดียวกันแสดงความเป็นหยินหยาง ปรับเปลี่ยนลายเส้นให้ดูร่วมสมัยและนำปรัชญาของเต๋ามาประดับไว้กับภาพให้ผลักดันซึ่งกันละกัน การจัดวางตัวอักษรหยิบยืมการวางตัวอักษรของจีนมาใช้ แต่วิธีอ่านยังเป็นแบบไทย (โดยการวางตัวอักษรลักษณะนี้เป็นส่วนหนึ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของความเป็นร้านขนมหยักเค็ง)
















"เมื่อเคลื่อนไหว ทำให้หายหนาว
เมื่อหยุดนิ่ง ทำให้หายร้อน
ผู้มีความนิ่งมีความสงบ
จึงเป็นแบบอย่างอันเลอเลิศ"

เราเชื่อเต๋า เราฟังเต๋า แต่เราขอเดินตามวิถีทางของเรา

เทศกาลตรุษจีน
วันที่ 1 เดือน 1 ไหว้ครั้งที่ 1 ง่วงตั้งโจ่ย ฤดูชุ

แบบที่1















"ตัวฮก" เป็นคำมงคลของจีน แปลว่า บุญหรือโชค โชคที่จะได้สมใจ เมื่อนำไปติดที่บ้านก็จะมีแต่ความสิริมงคล บ้างบ้านนิยมติดตัวฮกกลับหัวเพื่อเป็นเคล็บว่าโชคจะหวนกลับมา



































ภายในยังมีซองอั่งเปา บอกถึงสาเหตุทำไมวันตรุษจีนแต่ละปีไม่ตรงกัน (ตอนแสดงงานซองอั่งปาโดยจิ๊กไปหมดเลย) เป็นเพราะปฏิทินจีนเป็นการดูวันทางจันทรคติ คือการกำหนดวันและเดือนโดยดูพระจันทร์เป็นหลัก ส่วนปฏิทินสากลดูวันแบบสุริยคติ เมื่อนำมาปรับใช้เป็นวันในปฏิทินสากล ทำให้วันตรุษจีนหรือวันสำคัญอื่นๆ ไม่มีวันตรงกันในแต่ละปี

แบบที่2















มาจากธรรมเนียมการนำผลส้ม 4 ผล ไปไหว้และอวยพรญาติผู้ใหญ่หรือญาติมิตร โดยเจ้าบ้านจะรับผลส้มไว้ 2 ผล แล้วนำผลส้มีที่บ้าน 2 ผล เปลี่ยนกับผลส้ม 2 ผล ของแขกแล้วคืนผลส้ม 4 ผล ให้กับแขก การแลกผลส้มจึงมีความนัยว่าต่างฝ่ายต่างนำความโชคดีมอบให้แก่กัน
ส้ม สำหรับคนจีนถือเป็นผลไม้สิริมงคล
ส้ม คำจีนเรียกว่า "กา" อีกคำหนึ่งเรียกว่า "ไต้กิก"
ไต้ แลปว่า ใหญ่ กิก แปลว่า มิ่งขวัญ มงคล ดีงาม
"ไต้กิก" จึงแปลว่า มหาโชคดีหรือมหามงคล
ส่วนตรงบริเวณที่ใส่ผลส้ม หน้ากล่องทำการเจาะกระดาษเป็นอักษรมงคล ได้แก่ ฮก ลก ซิ่ว และซังฮี่ เพื่อเพิ่มความเป็นสิริมงคลต่อผู้ซื้อและผู้รับ

















เทศกาลเช็งเม้ง
15 วันแรกของเดือน 3 ไหว้ครั้งที่ 3 เช็งเม้งโจ่ย ฤดูชุง


















มาจากธรรมเนียมการไหว้ ขนมเปี๊ยะนก(เจียวเปี้ย) ซึ่งเป็นของไหว้พิเศษในเทศกาลเช็งเม้ง เพื่อเป็นการสื่อสารให้บรรพบุรุษรับรู้ว่าลูกหลานได้มากราบไหว้ ณ ที่ฮวงซุ้ยแล้ว จึงทำเป็นวิญญาณนกกำลังบินทยานขึ้นไปบนท้องฟ้า บอกกล่าวบรรพบุรุษให้รับรู้ถึงความกตัญญูของลูกหลาน ที่ได้นำสิ่งของอาหารมาเซ่นไหว้ (งานนี้หลายคนบอกค่อนข้างหลุด แต่ผมก็ได้ทำไปตาม mood&tone ที่กำหนดและresearchมา เพราะแดดในวันเช็งเม้งนั้นมันชั่งร้อนแรงเหลือเกิน สีเลยต้องสดๆ ฮา ฮา ฮา)























บินไปหาอากง อาม่าเลยนะเจ้านกเอ๋ย

เทศกาลสารทจีน
วันที่ 15 เดือน 7 ไหว้ครั้งที่ 5 ตงง้วงโจ่ย ฤดูชิว
















มาจากในช่วงเดือน 7 ของจีน คนจีนถือว่าเป็นเดือนผี เพราะตั้งแต่วันแรกของเดือนเป็นวันเปิดยมโลกให้ผีหรือดวงวิญญาณทั้งหลายได้ออกมารับส่วนบุญในโลกมนุษย์ ทำให้เทศกาลสารทจีนนอกจากการไหว้เจ้าและการไหว้บรรพบุรุษแล้ว ยังมีธรรมเนียมการไหว้ผีไม่มีญาติ(ไป๊ฮ้อเฮียตี๋) โดยจะไหว้บริเวณนอกบ้านก่อนที่จะทำการไหว้ จะมีการนำธูปไปปักตามถนนหนทางจากที่ไกลเข้ามาหาที่บ้าน เป็นการเรียกดวงวิญญาณให้ตามควันธูป มากินของเซ่นไหว้ที่บ้าน

















เทศกาลไหว้พระจันท
ร์
วันที่ 15 เดือน 8 ไหว้ครั้งที่ 6 ตงชิวโจ่ย ฤดูชิว
















มาจากความเชื่อของคนจีนในสมัยโบราณ ว่ามีกระต่ายปรุงยาอายุวัฒนะอยู่บนพระจันทร์อยู่คู่กับนกสามขา นกวิเศษของพระอาทิตย์เพื่อรักษาและสร้างสมดุลของหยินหยาง จึงออกแบบด้วยการเจาะกระดาษเป็นตัวกระต่ายที่กำลังตำยา เพื่อสามารถมองเห็นความสวยงามของขนมไหว้พระจันทร์





























ภายในยังมีสารลับของตำนานในวันไหว้พระจันทร์ จากการกู้ชาติจากมองโกลของชาวจีน โดยการใส่ข้อความไว้ในขนมไหว้พระจันทร์ นัดหมายฆ่าล้างมองโกลในวันตงชิว (วันกึ่งกลางฤดูชิว)























นี่คือ design แรกที่ทำไว้ แต่ตอนที่เสนออาจารย์กับคณะกรรมการ กลับมีเสียงหัวเราะดังทั่วห้อง บางท่านก็อมยิ้ม และคำแนะนำจากอาจารย์ท่านหนึ่ง "คุณขายขนมนะ นี่มันแรงไป" บวกกับใบหน้าที่เปื้อนยิ้มแล้วเสียงหัวเราะเบาๆ ฮึ ฮึ ฮึ !!!

เทศกาลกินเจ
เริ่มกินตั้งแต่วันที่ 1 เดือน 9 เก้าโหว่ยเจ ฤดูชิว
















มาจากในช่วงเทศกาลกินเจ คนที่กินเจอยู่ในศีลจะนุ่งขาวห่มขาวตลอดระยะเวลาการกินเจ สีเหลืองกับสีแดงถือเป็นสัญลักษณ์ของของการกินเจ ภายในมีปฏิทินช่วงเวลาการกินเจ เพื่อเล่นกับการนับวัน เวลาหยิบขนมมาทาน ส่วนพื้นที่ด้านล่างของปฏิทินนำเสนอข้อมูล ที่มาความสำคัญและสาระต่างๆของการกินเจ





























































กล่องใหญ่ พื้นที่เหลือเลยใส่รูปเดินเจที่ถ่ายไว้ตอนทำ research ซะเลย







































ภาพบรรยากาศการแสดงผลงาน (ภายใต้ชื่อนิทรรศการ : Falcon the Magenta)
















3 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

วันเชงเม้ง backgroundถ่ายรูปหลุดมากๆ
จริงใจเกิน







คณะรัฐประหารการออกแบบ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

แม้เขาสูงอาจวัดวากำหนด

แต่จิตมนุษย์นี้ไซร้




...ยากแท้ หยั่งถึง

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

โลเกชั้นดีมาก...

สืบเนื่องได้ยึดอำนาจ จาก คณะรัฐประหารการออกแบบ ไว้เป็นที่เรียบร้อย จึงแจ้งมาให้ทราบ โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง........